หน้าเว็บ

บทที่ 3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต


3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต


  • ความหมายของอินเทอร์เน็ต
                    อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
                   อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
  • ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
                 อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรกในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมดสำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกาอย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
  • บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
 ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้
เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ 
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง
ปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป
( โครงการการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย.)

3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์


                      เว็บไซต์ (อังกฤษWebsite, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
  • การเข้าเว็บไซต์
                     เริ่มจากรู้จักเว็บไซด์หรือเวิลด์ไวด์เว็บ (Word Wide Web : www.) หมายถึง การบริการข้อมูลที่เชื่อมต่อด้วยไฮเปอร์ลิงค์ โดยมีโฮสต์ที่ทำหน้าที่บริการข้อมูลท เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
                     ลักษณะของเวิล์ดไวด์เว็บจะนำเสนอข้อมูลในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Site) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ได้ด้วยหน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page)
                     เมื่อนำเอาเว็บเพจหลายๆ  หน้ามารวมกันไว้ในแหล่งเดียวกัน เรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site) เว็บไซต์จะถูกเก็บไว้ในเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ใดๆ ต้องติดต่อผ่านไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกเป็นภาษาอินเทอร์เน็ตว่า ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL) ซึ่งแต่ละยูอาร์แอลจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน

  • การใช้งานเบราเซอร์
                       ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโปรแกรมเบราเซอร์ (Browser) เนื่องจากหน้าเว็บแต่ละหน้าที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้มีเฉพาะตัวอักษรและภาพเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วย รหัสต้นฉบับ (Source Code) และคำสั่งที่เขียนขึ้นจากภาษาเว็บโปรแกรมมิ่งต่างๆ เช่น HTML , XML , Java , PHP , Perl , ASP เป็นต้น คำสั่งเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานต่างๆ ของเว็บแต่ละหน้า เช่น การเชื่อมโยง (LINK) สีสันของตัวอักษร ย่อหน้า กรอบ การแสดงภาพ ข้อความ ตารางต่างๆ เว็บบอร์ด และส่วนประกอบอื่นๆที่ซับซ้อน ที่รวมกันขึ้นเป็นหน้าเว็บหน้าหนึ่ง
                       การทำงานของเบราเซอร์นั้น จะแสดงผลออกมาเป็นหน้าเว็บตามลักษณะที่เว็บโปรแกรมเมอร์ออกแบบและกำหนดไว้ ถ้าหากไม่มีโปรแกรมเบราเซอร์สำหรับประมวลผลและแสดงผลแล้ว ผู้ใช้ก็จะไม่สามารถเยี่ยมชมเว็บต่างๆได้ โดยโปรแกรมเบราเซอร์นั้นมีอยู่หลายโปรแกรม และที่ได้รับความนิยมนั้น ได้แก่ โปรแกรม Internet Explorer , Netscape , Opera , Mozilla , Firefox โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ  Internet Explorer
                          




3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบนเว็บ






ชื่อเบราเซอร์ข้อดีข้อจำกัด
browser-ie
Internet Explorer (IE)
- เป็นบราวเซอร์ที่คนใช้งานมากที่สุดในโลก
  รองรับการเปิดเว็บไซต์ได้ทุกเว็บไซต์ เมื่อเกิด
  ปัญหาเกิดสามารถแก้ไขได้ง่าย
- เว็บไซต์เกมทุกเว็บหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ
  รองรับโค้ดของ IE
- IE เปิดหลายๆ แท็บมักจะเกิดอาการค้าง
  ไม่ทำงาน
- ช้าที่สุด เมื่อเทียบกับบราวเซอร์อื่นๆ
- ใช้หน่วยความจำคอมพิวเตอร์มากที่สุด
  ซึ่งอาจทำให้เครื่องช้าไปด้วย
browser-firefox
FireFox
- เร็วที่สุดในบรรดาเบราเซอร์ทุกตัวในที่นี้
- เต็มไปด้วยอุปกรณ์เสริม ( add-ons )
- ถ้าโดนบุกรุกจากสปายแวร์ ไวรัส หากใช้
  เบราเซอร์ FireFox จะไม่ค่อยเจอปัญหา
  (เกือบ 100%) ด้วยระบบการรักษาความ
  ปลอดภัยและระบบการอัพเดตอยู่ตลอด
  จะช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างทันท่วงที
- มีลุกเล่นเยอะ
- มีตัวดาวน์โหลดอยู่ในตัว
- มีการอัพเดทอยู่เรื่อย ๆ
- Google สนับสนุนน้อยลงเนื่องจาก หันไป
  พัฒนา Chrome แทน
- ผู้ใช้ทั่วโลกยังน้อย เมื่อเทียบกับ IE เพราะ IE
  ติดมากับวินโดว์อยู่แล้ว
- เว็บไซต์ส่วนใหญ่ทำด้วย IE แสดงผลใน
  Firefox ไม่ได้ หรือถ้าแสดงได้ ก็อาจ
  ไม่สมบูรณ์
- ไม่สามารถเข้าไปยังเว้บไซต์ของสถาบัน
  การเงินต่าง ๆ ได้
- เนื่องจากลูกเล่นเยอะ ก็มีข้อดีและข้อเสีย
  ในตัวคือลูกเล่นเยอะ เปิดแท็บได้เยอะ
  กินแรมมาก
browser-chrome
Google Chrome
- พื้นที่หน้าจอใหญ่ที่สุดและใช้เนื้อที่คุ้มค่าที่สุด
- เร็วกว่า IE และเร็วพอ ๆ กับ Firefox
- มีแถบสำหรับการค้นหาที่รวดเร็ว
- ขนาดไฟล์น้อย ไม่หนักเครื่อง
- หน้าต่างดาวน์โหลดอยู่แถบด้านล่าง ไม่เกะกะ
  เหมือน IE และ Firefox ที่เด้งออกมาเป็นอีก
  หน้าต่าง
- ดึงแอพของกูเกิลมาใช้งานอย่างสะดวก
- ไตเติ้ลบาร์สั้น
- เข้าเว็บสถาบันการเงิน ไม่ได้เช่นเดียวกับ
  FireFox
- ยังซัพพอร์ตภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- การลบตัวอักษร ถ้าคำที่มีสระอยู่ด้วยมันจะลบ
  ไปหมด
browser-opera
Opera
- เร็วกว่า IE Chrome FireFox
- รูปลักษณ์สวย
- ใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
  น้อยกว่า IE แต่ก็ยังมากกว่า Chrome
- มี download manager ในตัว
- ซัพพอร์ต HTML  CSS
- ลูกเล่นน้อย บางหน้าเว็บแสดงผลเพี้ยน
- เวลาเปิด บางทีช้ากว่าเบราเซอร์อื่น ๆ
- ไม่ซัพพอร์ตเว็บที่เป็นไออีเท่านั้น เช่น
  เว็บของสถาบันการเงินต่างๆ
browser-safari
Safari
- โหลดหน้าเว็บเร็วมาก
- เล่น javascript เร็วกว่าเบราเซอร์อื่นๆ
- รองรับ CSS  Animation ซึ่งเบราเซอร์อื่น
  ไม่รองรับ
- รองรับ CSS Web Font
- สแกนข้อมูลได้รวดเร็ว
- ไวรัส สปายแวร์ต่าง ๆ ซาฟารีกำจัดได้ดีกว่า
  IE และ Firefox
- ลุกเล่นยังไม่ค่อยเยอะ โดยรวมแล้วไม่สู้
  Firefox
- มีปัญหาด้านภาษาไทยเหมือน Chrome
- กินทรัพยากรของคอมพิวเตอร์คุณค่อนข้าง
  เยอะพอ ๆ กับ IE
- ฟ้อนต์เพี้ยนเยอะมาก




3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น



ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือช่วยค้นเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ นามานุกรม และแบบดรรชนี  ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ระดับแนวหน้าของไทยและต่างประเทศ





Google
 
www.google.com
              Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก
(รวมทั้งภาษาไทยและมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ 
-         เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
-         รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ
-         กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
-         สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่

 



 
   Sanook
               เป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ค้นหามากมายทั้งของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรมและคำค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และมีคำอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย


Go
http://www. go.com
                เป็น Search Engine  ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และยังรวมถึงฐานข้อมูลของรายชื่ออีเมล์และนิวส์กรุ๊ปได้ เป็น Search Engine ที่เป็นแบบ  นามานุกรมที่มีความเร็วในการค้นหา อีกทั้งหน้าตาเว็บยังสวยงาม และมีลูกเล่นด้วย


 
Yahoo    
                  Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮูเป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรอินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทำได้อย่างรวดเร็วจุดหนึ่งที่ทำให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการ แบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

 

3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ
  • ตัวอย่างเว็บไซต์ของประเทศไทย
  • ตัวอย่างเว็บไซต์ของต่างประเทศ



สรุปสาระสำคัญ
          "ช้อมูล (Data) ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากในสังคมปัจจุบัน เพราะผู้มีข้อมูลมากย่อมเป็นผู้ที่ได้เปรียบในการประกอบธุรกิจต่างๆ และจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในที่สุด ปัจจุบันนี้โลกไดดมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้เกิดแหล่งข้อมูลที่ถือว่าใหญ่ที่สุด มีข้อมูลมากที่สุดบรรจุอยู่ คือแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
            อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โลก เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุดของเครือข่ายย่อมมากมายทั่วโลก ทำให้รานั่งอยู่บ้าน สามารถดูข้อมูล สื่อสาร ทำงาน และติดต่อกับผู้คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น